เมนู

ว่า พึงกล่าวอวดว่าฉันเป็นคนมีความมั่งคั่ง. บทว่า อุปนีหาตุํ แปลว่า
เพื่อนำออกให้.
จบอรรถกถาจุนทสูตรที่ 4

5. กสิณสูตร


ว่าด้วยกสิณ 10


[25] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บ่อเกิดแห่งกสิณ 10 ประการนี้ 10
ประการเป็นไฉน คือ บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัด ซึ่งปฐวีกสิณ ในเบื้องบน
เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ไม่มีสอง หาปริมาณมิได้ บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัด
ซึ่ง อาโปกสิณ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง เตโชกสิณ... บุคคลผู้หนึ่งย่อม
รู้ชัดซึ่ง วาโยกสิณ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง นีลกสิณ... บุคคลผู้หนึ่ง
ย่อมรู้ชัดซึ่ง ปีตกสิณ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง โลหิตกสิณ... บุคคลผู้
หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง โอทาตกสิณ... บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง อากาสกสิณ...
บุคคลผู้หนึ่งย่อมรู้ชัดซึ่ง วิญญาณกสิณ ในเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องขวาง
ไม่มีสอง หาปริมาณไม่ได้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บ่อเกิดแห่งกสิณ 10
ประการนี้แล.
จบกสิณสูตรที่ 5

อรรถกถากสิณสูตรที่ 5


กสิณสูตรที่ 5

พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
ชื่อว่า กสิณ เพราะอรรถกถาว่าทั้งสิ้น ชื่อว่า อายตนะ เพราะอรรถว่า
เป็นเขตแห่งธรรมทั้งหลายที่มีกสิณนั้นเป็นอารมณ์ หรือเพราะอรรถว่าตั้ง

ไว้. เหตุนั้น จึงชื่อว่า กสิณายตนะ บ่อเกิดแห่งอารมณ์ที่เป็นกสิณ. บทว่า
อุทฺธํ ได้แก่แหงนดูพื้นอากาศเบื้องบน. บทว่า อโธ ได้แก่ ก้มดูพื้นดิน
เบื้องล่าง. บทว่า ติริยํ ได้แก่กำหนดไปรอบ ๆ อย่างทุ่งนา. จริงอยู่ พระ-
โยคาวจรบางรูป เจริญกสิณเบื้องบนเท่านั้น บางรูปก็เบื้องล่าง บางรูปก็
กวาดไปอย่างนี้ด้วยอาการนั้น ๆ ไปรอบ ๆ เหมือนต้องการจะดูรูปที่มีแสง
สว่าง ด้วยเหตุนั้น พระเถระจึงกล่าวว่า ปฐวีกสิณเมโก สญฺชานาติ อุทฺธํ
อโธ ติริยํ
. ก็บทว่า อทฺวยํ นี้ ท่านกล่าวเพื่อกสิณอย่างหนึ่งไม่แปรเป็น
อย่างอื่น เหมือนอย่างว่า เมื่อพระโยคาวจรเข้าไปสู่น้ำ [อาโปกสิณ] ทุกทิศ
ก็มีน้ำอย่างเดียว ไม่มีอย่างอื่น ฉันใด. ปฐวีกสิณก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อม
เป็นปฐวีกสิณอย่างเดียว ไม่เจือกสิณอย่างอื่น ในกสิณทั้งปวง ก็นัยนี้
เหมือนกัน . คำว่า อปฺปมาณํ นี้ ท่านกล่าวด้วยอำนาจแผ่กสิณนั้น ๆ ไป
ไม่มีประมาณ. จริงอยู่ พระโยคาวจรเมื่อแผ่กสิณนั้นด้วยใจ ย่อมแผ่ไป
ทั่วทีเดียว ไม่ถือประมาณว่า นี้เป็นตอนต้นของกสิณนั้น นี้เป็นตอนกลาง.
ในบทว่า วิญิญาณกสิณํ นี้ วิญญาณเป็นไปในอากาศที่เพิกกสิณจริง
อย่างนั้น วิญญาณอันนั้น ท่านเรียกว่าวิญญาณ. พึงทราบความเป็น
เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง ในวิญญาณที่เป็นไปในวิญญาณกสิณนั้น
ก็ด้วยอำนาจอากาศที่เพิกกสิณ. นี้เป็นความสังเขปในวิญญาณกสิณนั้น.
ส่วนกสิณมีปฐวีกสิณเป็นต้นเหล่านั้น ก็กล่าวไว้พิสดารแล้วในคัมภีร์
วิสุทธิมรรค โดยนัยแห่งกัมมัฏฐานภาวนานั้นแล.
จบอรรถกถากสิณสูตรที่ 5

6. กาลีสูตร


ว่าด้วยกาลีอุบาสิกาถามปัญหาท่านพระมหากัจจายนะ


[26] สมัยหนึ่ง ท่านพระมหากัจจายนะ อยู่ที่ภูเขาชื่อปวัตตะ
ใกล้เมืองกุรรฆระ ในอวันตีชนบท ครั้งนั้นแล อุบาสิกาชื่อกาลีชาวเมือง
กุรรฆระได้เข้าไปหาท่านพระมหากัจจายนะถึงที่อยู่ ได้อภิวาทท่านพระ-
มหากัจจายนะแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ถามท่านพระ-
มหากัจจยนะว่า ท่านเจ้าข้า พระผู้พระภาคเจ้าได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้
ไว้ในกุมารีปัญหาว่า
การบรรลุประโยชน์ เป็นความสงบแห่งหทัย
เราชำนะเสนา คือ กิเลสอันมีรูปเป็นที่รัก เป็นที่
ชื่นใจแล้ว เป็นผู้เดียวเพ่งอยู่ ได้รู้โดยลำดับซึ่ง
ความสุข เพราะฉะนั้น เราจึงไม่ทำความเป็นเพื่อน
ด้วยชน ความเป็นเพื่อนกับด้วยใคร ๆ ย่อมไม่ถึง
พร้อมแก่เรา ดังนี้.

ท่านเจ้าข้า เนื้อความแห่งพระพุทธพจน์ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัส
ไว้โดยย่อนี้จะพึงเห็นได้โดยพิสดารอย่างไรหนอ.
ท่านพระมหากัจจายนะตอบว่า ดูก่อนน้องหญิง สมณพราหมณ์
พวกหนึ่ง ยังประโยชน์ทั้งหลาย อันมีปฐวีกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่งให้เกิด
เฉพาะแล้ว ความที่ประโยชน์มีปฐวีกสิณสมาบัติเป็นอย่างยิ่ง มีประมาณ
เท่าใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้แล้วซึ่งความที่ประโยชน์มีปฐวีกสิณสมาบัติ